ยินดีต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์แฟ้มผลงานอิเล็กทรอนิกส์ (E-Portfolio) ของครูสุเมธ ราชประชุม
ข้อมูลผู้ประเมิน
ชื่อ-สกุล นายสุเมธ ราชประชุม
ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ
กลุ่มสาระการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
โรงเรียนห้วยกรดวิทยา อำเภอสรรคบุรี จังหวัดชัยนาท
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุทัยธานี ชัยนาท
สอนรายวิชา วิทยาการคำนวณ ชั้นม.3 - ม.6
เป็นครูที่ปรึกษานักเรียน ชั้นม.3/1 (ปีการศึกษา 2567)
ส่วนที่ 1 ข้อตกลงในการพัฒนางานตามมาตรฐานตำแหน่ง
1. ภาระงาน จะมีภาระงานเป็นไปตามที่ก.ค.ศ. กำหนด
1.1 ชั่วโมงสอนตามตารางสอน รวมจำนวน 17 ชั่วโมง/สัปดาห์ดังนี้
รายวิชา ส23104 ประวัติศาสตร์ 6 จำนวน 1.6 ชั่วโมง/สัปดาห์
รายวิชา I31202 การสื่อสารและการนำเสนอ จำนวน 3.3 ชั่วโมง/สัปดาห์
รายวิชา ว32104 วิทยาการคำนวณ 2 จำนวน 1.6 ชั่วโมง/สัปดาห์
รายวิชา ว32284 โครงงานคอมพิวเตอร์ จำนวน 3.3 ชั่วโมง/สัปดาห์
รายวิชา ว33290 การตัดต่อวิดีโอ จำนวน 3.3 ชั่วโมง/สัปดาห์
กิจกรรมแนะแนว จำนวน 0.8 ชั่วโมง/สัปดาห์
ชุมนุมคอมพิวเตอร์ จำนวน 0.8 ชั่วโมง/สัปดาห์
กิจกรรมสังคมและสาธารณประโยชน์ จำนวน 0.8 ชั่วโมง/สัปดาห์
1.2 งานส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 3 ชั่วโมง/สัปดาห์
1.3 งานพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษา จำนวน 5 ชั่วโมง/สัปดาห์
1.4 งานตอบสนองนโยบายและจุดเน้น จำนวน 1 ชั่วโมง/สัปดาห์
2. งานที่จะปฏิบัติตามมาตรฐานตำแหน่งครู
ส่วนที่ 2 ข้อตกลงในการพัฒนางานที่เป็นประเด็นท้าทายในการพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน
ประเด็นที่ท้าทายในการพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน ของผู้จัดทำข้อตกลง ซึ่งปัจจุบันดำรงตำแหน่งครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการ ต้องแสดงให้เห็นถึงระดับการปฏิบัติที่คาดหวัง คือ การแก้ไขปัญหา การจัดการเรียนรู้และการพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นหรือมีการพัฒนามากขึ้น
ประเด็นท้าทาย เรื่อง การพัฒนาแอปพลิเคชัน เรื่อง กลไกไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 รายวิชาการออกแบบและเทคโนโลยี 1 รหัสวิชา ว31103
1. สภาพปัญหาการจัดการเรียนรู้และคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน
ในการจัดการเรียนรู้ที่ผ่านมานักเรียนมีความสับสนใจในการเรียนรู้เรื่องกลไกไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์ และไม่สามารถเข้าใจในคุณสมบัติของอุปกรณ์แต่ละชนิด และมีปัญหาในการเลือกใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ให้เหมาะกับชิ้นงานได้อย่างเหมาะสม จึงส่งผลให้ชิ้นงานที่นักเรียนประดิษฐ์ไม่สามารถทำงานได้เป็นจำนวนมาก และเกิดความเสียหายบ่อยครั้ง นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำ และอีกปัญหาในการจัดการเรียนรู้คือ นักเรียนไม่มีหนังสือเรียนในเรื่องกลไกไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์ ของรายวิชาการออกแบบและเทคโนโลยี 1 รหัสวิชา ว31103 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 โดยตรง ครูผู้สอนต้องใช้ใบงาน ใบกิจกรรม และใบความรู้ในการจัดการเรียนรู้ให้นักเรียน ซึ่งทำให้ใบงานต่าง ๆ สูญหายได้ง่าย ดังนั้น ครูผู้สอนจึงจัดทำข้อตกลงในการพัฒนางานประเด็นท้าท้าย โดยการพัฒนาแอปพลิเคชัน เรื่อง กลไกไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 รายวิชาการออกแบบและเทคโนโลยี 1 รหัสวิชา ว31103 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565
2. วิธีการดำเนินการให้บรรลุผล
2.1 วิเคราะห์หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุงพุทธศักราช 2561) และหลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนห้วยกรดวิทยา ฉบับปรับปรุง พุทธศักราช 2561 ในเรื่องของ มาตรฐานการเรียน และตัวชี้วัด ของเนื้อหา เรื่อง กลไกไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์
2.2 จัดทำโครงร่างของเนื้อหาแอปพลิเคชัน รายวิชาการออกแบบและเทคโนโลยี 1 เรื่อง กลไกไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์ โดยแบ่งเนื้อหาออกเป็นส่วน ๆ พร้อมเฉลยตัวอย่าง กิจกรรม และแบบฝึกหัด ดังนี้
1) หัวข้อที่ 1 เรื่อง กลไก (mechanism)
2) หัวข้อที่ 2 เรื่อง อุปกรณ์ไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์
2.3 ให้คุณครูในกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ช่วยกันตรวจสอบความถูกต้อง ในเนื้อหา การเฉลยของตัวอย่าง กิจกรรม และแบบฝึกหัด พร้อมทั้งเสนอแนะ เพื่อปรับปรุง แก้ไข
2.4 ครูผู้สอนนำแอปพลิเคชันมาปรับปรุง แก้ไขตามคำแนะนำของคณะครูในกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีโรงเรียนห้วยกรดวิทยา
2.5 นำแอปพลิเคชันไปทดลองใช้กับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่เคยเรียนเนื้อหา เรื่อง กลไกไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์ และให้นักเรียนเสนอแนะข้อคิดเห็น เพื่อปรับปรุง แก้ไข หรือนักเรียนมีความสับสนในข้อความใด ให้ดำเนินการปรับภาษาให้เข้าใจง่ายขึ้น
2.6 นำแอปพลิเคชัน เรื่อง กลไกไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์ รายวิชาการออกแบบและเทคโนโลยี 1 รหัสวิชา ว31103 ไปจัดกิจกรรมการเรียนรู้ กับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 ทั้งในรูปแบบ ONLINE หรือ ONSITE โดยปรับกิจกรรมให้เหมาะสมกับบริบท
2.7 บันทึกผลการเรียนรู้ของนักเรียน ที่เกิดขึ้นจากการกิจกรรมการเรียนรู้ ในโปรแกรม Microsoft Excel และสะท้อนผลการเรียนรู้ให้นักเรียนทราบเป็นระยะ หากมีนักเรียนที่ไม่ผ่านเกณฑ์การประเมินในเรื่องใด ให้ใช้กิจกรรมเพื่อนช่วยเพื่อน และการสอนซ่อมเสริมด้วยคลิปวีดีทัศน์ที่ครูจัดทำขึ้น สำหรับใช้แก้ไขปัญหาการเรียนรู้ให้นักเรียนได้ศึกษา และทำการทดสอบใหม่ จนนักเรียนมีผลการเรียนรู้ผ่านเกณฑ์ที่กำหนด
3. ผลลัพธ์การพัฒนาที่คาดหวัง
3.1 เชิงปริมาณ
นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 2 ห้อง รวมจำนวนนักเรียนทั้งหมด 60 คน
ได้รับการพัฒนาด้วยแอปพลิเคชัน เรื่อง กลไกไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์ รายวิชาการออกแบบและเทคโนโลยี 1 รหัสวิชา ว31103 โดยมีคะแนนทดสอบปลายภาคผ่านเกณฑ์ (ร้อยละ 70 ของคะแนนเต็ม) คิดเป็นร้อยละ 70 ของจำนวนนักเรียนทั้งหมด และนักเรียนทั้งหมดมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยแอปพลิเคชัน เรื่อง กลไกไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับ มากขึ้นไป
3.2 เชิงคุณภาพ
นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 2 ห้อง รวมจำนวนนักเรียนทั้งหมด 60 คน
มีความรู้ความเข้าใจใน เรื่อง กลไกไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์และสามารถนำความรู้ที่ได้จากการเรียนรู้ไปเชื่อมโยงกับชีวิตประจำวัน นำไปใช้ในการพัฒนานวัตกรรมแก้ปัญหาและศึกษาในระดับที่สูงขึ้นได้ต่อไป
การจัดการเรียนการสอนด้วยแอปพลิเคชัน
ปัญหา คือ นักเรียนยังไม่เข้าใจในเนื้อหา เรื่อง กลไกไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์ เพราะเนื้อหาค่อนข้างยาก และเวลาในการเรียนน้อยทำให้เด็กไม่เข้าใจ และนำไปต่อยอดในชิ้นงานไม่ได้
การจัดการเรียนการสอนด้วยแอปพลิเคชัน
แก้ปัญหาโดย ใช้สื่อแอปพลิเคชัน เรื่อง กลไกไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อให้นักเรียนได้รับความรู้ความสนุก ตื่นเต้น และมีการแข่งขันระหว่างที่เรียน
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชันผ่านแพลตฟอร์ม OBEC Content Center ของ สพฐ.
เอกสารหลักฐาน และ คลิปการจัดการเรียนรู้
แบบข้อตกลงในการพัฒนางาน (PA)
ประจำปีงบประมาณ 2566
รายงานผลตามข้อตกลงในการพัฒนางาน (PA)
ประจำปีงบประมาณ 2566
คลิปการจัดการเรียนรู้ วิชา วิทยาการคำนวณ
คำสั่งปฏิบัติงาน ปี 2565
คำสั่งแต่งตั้งข้าราชการครูปฏิบัติหน้าที่จัดการเรียนการสอน ประจำภาคเรียนที่ ๑ ปีการศึกษา ๒๕๖๕
คำสั่งแต่งตั้งครูที่ปรึกษา และระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ประจำภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565
คำสั่งแต่งตั้งปฏิบัติงานและรับผิดชอบในฝ่ายงานของโรงเรียน นอกเหนือจากหน้าที่ในการสอน ปีการศึกษา 2565
คำสั่งปฏิบัติงาน ปี 2566