ยินดีต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์แฟ้มผลงานอิเล็กทรอนิกส์ (E-Portfolio) ของครูสุเมธ ราชประชุม

ข้อมูลผู้ประเมิน

  • ชื่อ-สกุล นายสุเมธ ราชประชุม

  • ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการ

  • กลุ่มสาระการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

  • โรงเรียนห้วยกรดวิทยา อำเภอสรรคบุรี จังหวัดชัยนาท

  • สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุทัยธานี ชัยนาท

  • สอนรายวิชา วิทยาการคำนวณ ชั้นม.4 - ม.6

  • เป็นครูที่ปรึกษานักเรียน ชั้นม.1/1

ส่วนที่ 1 ข้อตกลงในการพัฒนางานตามมาตรฐานตำแหน่ง

1. ภาระงาน จะมีภาระงานเป็นไปตามที่ก.ค.ศ. กำหนด

1.1 ชั่วโมงสอนตามตารางสอน รวมจำนวน 18 ชั่วโมง/สัปดาห์ดังนี้

รายวิชา ส23104 ประวัติศาสตร์ 6 จำนวน 1.6 ชั่วโมง/สัปดาห์

รายวิชา ว31104 วิทยาการคำนวณ 1 จำนวน 1.6 ชั่วโมง/สัปดาห์

รายวิชา ว31281 ปัญญาประดิษฐ์ จำนวน 2.5 ชั่วโมง/สัปดาห์

รายวิชา ว32104 วิทยาการคำนวณ 2 จำนวน 1.6 ชั่วโมง/สัปดาห์

รายวิชา ว32285 การสื่อสารข้อมูลฯ จำนวน 2.5 ชั่วโมง/สัปดาห์

รายวิชา ว32284 โครงงานคอมพิวเตอร์ จำนวน 3.3 ชั่วโมง/สัปดาห์

รายวิชา ว33290 การตัดต่อวิดีโอ จำนวน 3.3 ชั่วโมง/สัปดาห์

ชุมนุมคอมพิวเตอร์ จำนวน 0.8 ชั่วโมง/สัปดาห์

กิจกรรมสังคมและสาธารณประโยชน์ จำนวน 0.8 ชั่วโมง/สัปดาห์


1.2 งานส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 3 ชั่วโมง/สัปดาห์

1.3 งานพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษา จำนวน 5 ชั่วโมง/สัปดาห์

1.4 งานตอบสนองนโยบายและจุดเน้น จำนวน 1 ชั่วโมง/สัปดาห์

2. งานที่จะปฏิบัติตามมาตรฐานตำแหน่งครู

ส่วนที่ 2 ข้อตกลงในการพัฒนางานที่เป็นประเด็นท้าทายในการพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน

ประเด็นที่ท้าทายในการพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน ของผู้จัดทำข้อตกลง ซึ่งปัจจุบันดำรงตำแหน่งครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการ ต้องแสดงให้เห็นถึงระดับการปฏิบัติที่คาดหวัง คือ การแก้ไขปัญหา การจัดการเรียนรู้และการพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นหรือมีการพัฒนามากขึ้น


ประเด็นท้าทาย เรื่อง การพัฒนาแอปพลิเคชัน เรื่อง กลไกไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์ ระดับชั้นมัธยมศึกษา

ปีที่ 4 รายวิชาการออกแบบและเทคโนโลยี 1 รหัสวิชา ว31103 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565


1. สภาพปัญหาการจัดการเรียนรู้และคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน

ในการจัดการเรียนรู้ที่ผ่านมานักเรียนมีความสับสนใจในการเรียนรู้เรื่องกลไกไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์ และไม่สามารถเข้าใจในคุณสมบัติของอุปกรณ์แต่ละชนิด และมีปัญหาในการเลือกใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ให้เหมาะกับชิ้นงานได้อย่างเหมาะสม จึงส่งผลให้ชิ้นงานที่นักเรียนประดิษฐ์ไม่สามารถทำงานได้เป็นจำนวนมาก และเกิดความเสียหายบ่อยครั้ง นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำ และอีกปัญหาในการจัดการเรียนรู้คือ นักเรียนไม่มีหนังสือเรียนในเรื่องกลไกไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์ ของรายวิชาการออกแบบและเทคโนโลยี 1 รหัสวิชา ว31103 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 โดยตรง ครูผู้สอนต้องใช้ใบงาน ใบกิจกรรม และใบความรู้ในการจัดการเรียนรู้ให้นักเรียน ซึ่งทำให้ใบงานต่าง ๆ สูญหายได้ง่าย ดังนั้น ครูผู้สอนจึงจัดทำข้อตกลงในการพัฒนางานประเด็นท้าท้าย โดยการพัฒนาแอปพลิเคชัน เรื่อง กลไกไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 รายวิชาการออกแบบและเทคโนโลยี 1 รหัสวิชา ว31103 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565


2. วิธีการดำเนินการให้บรรลุผล

2.1 วิเคราะห์หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุงพุทธศักราช 2561) และหลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนห้วยกรดวิทยา ฉบับปรับปรุง พุทธศักราช 2561 ในเรื่องของ มาตรฐานการเรียน และตัวชี้วัด ของเนื้อหา เรื่อง กลไกไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์

2.2 จัดทำโครงร่างของเนื้อหาแอปพลิเคชัน รายวิชาการออกแบบและเทคโนโลยี 1 เรื่อง กลไกไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์ โดยแบ่งเนื้อหาออกเป็นส่วน ๆ พร้อมเฉลยตัวอย่าง กิจกรรม และแบบฝึกหัด ดังนี้

1) หัวข้อที่ 1 เรื่อง กลไก (mechanism)

2) หัวข้อที่ 2 เรื่อง อุปกรณ์ไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์

2.3 ให้คุณครูในกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ช่วยกันตรวจสอบความถูกต้อง ในเนื้อหา การเฉลยของตัวอย่าง กิจกรรม และแบบฝึกหัด พร้อมทั้งเสนอแนะ เพื่อปรับปรุง แก้ไข

2.4 ครูผู้สอนนำแอปพลิเคชันมาปรับปรุง แก้ไขตามคำแนะนำของคณะครูในกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีโรงเรียนห้วยกรดวิทยา

2.5 นำแอปพลิเคชันไปทดลองใช้กับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่เคยเรียนเนื้อหา เรื่อง กลไกไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์ และให้นักเรียนเสนอแนะข้อคิดเห็น เพื่อปรับปรุง แก้ไข หรือนักเรียนมีความสับสนในข้อความใด ให้ดำเนินการปรับภาษาให้เข้าใจง่ายขึ้น

2.6 นำแอปพลิเคชัน เรื่อง กลไกไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์ รายวิชาการออกแบบและเทคโนโลยี 1 รหัสวิชา ว31103 ไปจัดกิจกรรมการเรียนรู้ กับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 ทั้งในรูปแบบ ONLINE หรือ ONSITE โดยปรับกิจกรรมให้เหมาะสมกับบริบท

2.7 บันทึกผลการเรียนรู้ของนักเรียน ที่เกิดขึ้นจากการกิจกรรมการเรียนรู้ ในโปรแกรม Microsoft Excel และสะท้อนผลการเรียนรู้ให้นักเรียนทราบเป็นระยะ หากมีนักเรียนที่ไม่ผ่านเกณฑ์การประเมินในเรื่องใด ให้ใช้กิจกรรมเพื่อนช่วยเพื่อน และการสอนซ่อมเสริมด้วยคลิปวีดีทัศน์ที่ครูจัดทำขึ้น สำหรับใช้แก้ไขปัญหาการเรียนรู้ให้นักเรียนได้ศึกษา และทำการทดสอบใหม่ จนนักเรียนมีผลการเรียนรู้ผ่านเกณฑ์ที่กำหนด


3. ผลลัพธ์การพัฒนาที่คาดหวัง

3.1 เชิงปริมาณ

นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 2 ห้อง รวมจำนวนนักเรียนทั้งหมด 60 คน

ได้รับการพัฒนาด้วยแอปพลิเคชัน เรื่อง กลไกไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์ รายวิชาการออกแบบและเทคโนโลยี 1 รหัสวิชา ว31103 โดยมีคะแนนทดสอบปลายภาคผ่านเกณฑ์ (ร้อยละ 70 ของคะแนนเต็ม) คิดเป็นร้อยละ 70 ของจำนวนนักเรียนทั้งหมด และนักเรียนทั้งหมดมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยแอปพลิเคชัน เรื่อง กลไกไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับ มากขึ้นไป

3.2 เชิงคุณภาพ

นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 2 ห้อง รวมจำนวนนักเรียนทั้งหมด 60 คน

มีความรู้ความเข้าใจใน เรื่อง กลไกไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์และสามารถนำความรู้ที่ได้จากการเรียนรู้ไปเชื่อมโยงกับชีวิตประจำวัน นำไปใช้ในการพัฒนานวัตกรรมแก้ปัญหาและศึกษาในระดับที่สูงขึ้นได้ต่อไป



การจัดการเรียนการสอนด้วยแอปพลิเคชัน

ปัญหา คือ นักเรียนยังไม่เข้าใจในเนื้อหา เรื่อง กลไกไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์ เพราะเนื้อหาค่อนข้างยาก และเวลาในการเรียนน้อยทำให้เด็กไม่เข้าใจ และนำไปต่อยอดในชิ้นงานไม่ได้

การจัดการเรียนการสอนด้วยแอปพลิเคชัน

แก้ปัญหาโดย ใช้สื่อแอปพลิเคชัน เรื่อง กลไกไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อให้นักเรียนได้รับความรู้ความสนุก ตื่นเต้น และมีการแข่งขันระหว่างที่เรียน

ดาวน์โหลดแอปพลิเคชันผ่านแพลตฟอร์ม OBEC Content Center ของ สพฐ.

เอกสารหลักฐาน และ คลิปการจัดการเรียนรู้

ข้อตกลงในการพัฒนางาน-PA-ครูสุเมธ-ปีงบ-2565.pdf

แบบข้อตกลงในการพัฒนางาน (PA)
ประจำปีงบประมาณ 2565

รายงาน PA 15 ตัวชี้วัดและประเด็นท้าทาย.pdf

รายงานผลตามข้อตกลงในการพัฒนางาน (PA)
ประจำปีงบประมาณ 2565

คลิปการจัดการเรียนรู้ วิชา วิทยาการคำนวณ

IMG_0571.MOV
IMG_9727.MOV

คำสั่งปฏิบัติงาน ปี 2565

83 แต่งตั้งข้าราชการครูปฏิบัติหน้าที่จัดการเรียนการสอน 1 2565.pdf

คำสั่งแต่งตั้งข้าราชการครูปฏิบัติหน้าที่จัดการเรียนการสอน ประจำภาคเรียนที่ ๑ ปีการศึกษา ๒๕๖๕


69 แต่งตั้งครูที่ปรึกษา และระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ประจำภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565.pdf

คำสั่งแต่งตั้งครูที่ปรึกษา และระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ประจำภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565


13 ปฏิบัติงานและรับผิดชอบงานในฝ่ายงานของโรงเรียน นอกเหนืองานหน้าที่ในการสอน.pdf

คำสั่งแต่งตั้งปฏิบัติงานและรับผิดชอบในฝ่ายงานของโรงเรียน นอกเหนือจากหน้าที่ในการสอน ปีการศึกษา 2565